การรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่า ของเครื่องมือทางการเงินตามมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 (IFRS 9)
- actuarialbiz actuarialbiz
- 14 มิ.ย. 2565
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 22 ม.ค.

การรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน (Impairment Loss) ภายใต้ IFRS 9
อะไรบ้างที่เปลี่ยนแปลงไป
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน IFRS 9 ฉบับนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักการการคำนวณเงินสำรองเพื่อรองรับความเสียหาย โดยเปลี่ยนจากหลักการ Incurred Loss ที่จะกันเงินสำรองเพื่อรองรับเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นหลักการ Expected Loss ซึ่งจะกันเงินสำรอง เพื่อรองรับความเสียหายนั้นให้ครอบคลุมถึงความเสียหาย ที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย ซึ่งหลักการนี้จะจำเป็นต้องพิจารณาถึงเหตุการณ์ที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต (Forward-looking Information) ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้จากข้อมูล หรือปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอก ยกตัวอย่างเช่น อัตราการว่างงาน อัตราการขยายตัวของ GDP การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี เป็นต้น

ซึ่งกิจการต้องรับรู้ค่า เผื่อผลขาดทุนสำหรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss: ECL) ตาม IFRS 9 ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย หรือวัดมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ลูกหนี้สัญญาเช่า สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา หรือภาระผูกพันวงเงินสินเชื่อ และสัญญาค้ำประกันทางการเงิน

การรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามวิธีการทั่วไป (General Approach)
หลักการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินตาม IFRS 9 นี้ถูกเปรียบเสมือนเป็นถังน้ำ โดยมีการแบ่งถังน้ำนั้นออกเป็น 3 ถัง
(Three Bucket Approach or Three Stage Approach) ได้แก่

Comments